เมื่อวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย นายพงษ์พิทยา ธนไกรศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายอำเภอ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 45 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องเพชรบุระ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ อาคาร 1 ทั้งนี้ ในส่วนของ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ได้มอบหมายให้นายสมบูรณ์ เกียรติบัณฑิต รอง ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 และนางกานต์พิชชาภัทณ์ คนสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา พร้อมคณะครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเข้าร่วมการประชุม
               สำหรับการประชุมดังกล่าว ในวาระแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ ว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันและแก้ไขบัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประจำปึงบประมาณ พ.ศ.2563 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 น. โดยมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารสถานศึกษา
ที่เข้าร่วมโครงการและครูฝ่ายปกครองที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 แห่ง โดยมีแนวทางและข้อสั่งการดำเนินการ ดังนี้ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มอบแนวทางการดูแลแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายต้องการให้สถานศึกษาร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดูแลและเอาใจใส่นักเรียนที่อยูในสถานศึกษา ช่วยกันประคับประคองให้เด็กนักเรียนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้เรียนหนังสือจนจบการศึกษา โดยใช้รูปแบบที่ศูนย์เพื่อการคัดกรองยาเสพติดจังหวัดเพรบูรณ์ โดยแพทย์หญิงดวงดาว ศรียากูล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ กับคณะฯ ได้ดำเนินการในสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 57 2) รูปแบบการดำเนินการในสถานศึกษาให้ใช้รูปแบบของแพทย์หญิงดวงดาว ศรียากูล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และทีมงานศูนย์เพื่อการคัดกรองยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ดำเนินการในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 57 3) ให้อำเภอ/ศป.ปส.อ. เข้าไปช่วยสถานศึกษา โดยการเข้าไปดูแลและช่วยเหลือในการคัดกรอง และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดระบบการดูแลแก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มเสี่ยง และขอให้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอเป็นประจำทุกเดือน 4) การดูแลเด็กและเยาวชนต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาของยาเสพติดมีความรุนแรง และมีผลกระทบอย่างมาก โดยมีข่าวสารปรากฎทางสื่อให้เห็นทุกวัน 5) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 6 ร่วมกับศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเพชรบูรณ์ (ศอ.ปส.จ.พช) จะเข้าไปร่วมกับสถานศึกษา เพื่อให้มีการดูแลและช่วยเหลือสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกันอย่างจริงจัง 6) มอบหมายให้ผู้อำนวยการสถานศึกษากับคณะครูในสถานศึกษา ดำเนินการค้นหาคัดกรอง นักเรียนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา และช่วยวิเคราะห์สาเหตุของแต่ละรายว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เป็นเรื่องปัญหาครอบครัว สถานะฐานะทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เมื่อดำเนินการแล้วขอให้ประสานส่งข้อมูลให้กับอำเภอ/ศป.ปส.อ.โดยให้ระยะเวลา 1 เดือน โดยมุ่งหวังการดูแลช่วยเหลือให้นักเรียนได้เรียนในสถานศึกษาจนจบการศึกษาและมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยขอให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ปรึกษากับสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง ได้แลกเปลี่ยนระบบการดูแลนักเรียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนหนังสือจนจบ 7) ขอให้สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ได้เป็นพี่เลี้ยงดูแลช่วยเหลือสถานศึกษาที่เข้าร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย 8) เน้นย้ำข้าราชการในสถานศึกษาทุกคน ตั้งแต่ผู้อำนวยการ ครู ภารโรง คนทำอาหาร ฯลฯ ต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิดทั้งทางตรงและทางอ้อม 9) ขอให้มีการจัดการประชุมอย่างน้อยสามเดือน/ครั้ง เพื่อให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามาพูดคุย แลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน แต่ละสถานศึกษาได้ดำเนินการไปอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรหรือไม่ ทำไม่ได้ เพราะอะไร ให้นำมาแลกเปลี่ยนกัน 10) การดำเนินการการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 สำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ไม่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ไม่มีการคาดโทษผู้บริหารว่าถ้าโรงเรียนมีนักเรียนเกี่ยวข้องกับยาสพติดจะโดนลงโทษ ไม่ต้องรายงานแบบเป็นทางการ แต่ขอให้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนนำเสนอในการประชุมเป็นครั้งๆ ไป และ 11) มอบให้อำเภอ/ศป.ปส.อ. และตัวแทนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลประจำอำเภอ ได้ไปดำเนินการกำหนดแนวทางวางแผนในการดำเนินการต่อไป ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ (ศอ.ปสจ.พช) จะจัดการประชุมอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2563           

               ส่วนระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเสนอเพื่อทราบ ได้แก่ 1) การประชุมวิทยากรแกนนำเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา (ศอ.ปส.จ.พช.) 2) รูปแบบแนวทางและผลการดำเนินการในสถานศึกษา (โดยโรงพยาบาลเพชรบูรณ์) 3) ผลการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา (โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ) 4) ผลการดำเนินงานสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 5) การนำเสนอผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฯ คัดเลือกตัวแทนนำเสนอ ได้แก่ โรงเรียนบ้านปากน้ำ ตำบลนาป่า โรงเรียนบ้านสักแห้ง ตำบลชอนไพร โรงเรียนบ้านดงน้ำเดื่อ อำเภอหล่มสัก และโรงเรียนสิรินคริสเตียน ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ในเขตอำเภอหล่มสัก  6) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค การสร้างถูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ)  และระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องอื่น ๆ ไม่มี ทั้งนี้ ได้เลิกการประชุมในเวลาประมาณ 17.32 น.


              ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บไซต์เฟสบุ๊ค กลุ่มสาธารณะชื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.2881657068547303&type=3 ·

ฮิต: 391

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
126 หมู่ 11 ถ.สระบุรี-หล่มสัก ต.สะเดียง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000 
หมายเลขโทรศัพท์. 056-737080, 056-737081 , 056-737083 , 056-737085 , 056-737086
หมายเลขโทรสาร 056-737075  
E-Mail : admin@phetchabun1.go.th
แผนที่ตั้งหน่วยงาน