เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2563 ดร.อำนาจ บุญทรง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 (ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1) มอบหมายให้นางมนัสนันท์ กุลวงศ์ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และคณะกรรมการประเมินโรงเรียนเพื่อรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ปีงบประมาณ 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 (สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1) ร่วมกันประเมินผลงานด้านเอกสาร/รายงาน และคลิปวิดีโอนำเสนอผลงาน/นิทรรศการของโรงเรียนในโครงการฯ ที่ส่งผลงานเข้ารับการประเมินเพื่อรับตราสัญลักษณ์ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ณ ห้องประชุมอาคารลูกเสือไทย สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 โดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจะรวบรวมคะแนน สรุปผลการประเมิน ให้ ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ทราบและพิจารณาสั่งการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
อนึ่ง สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ จำนวน 6 คณะ และกำหนดให้คณะกรรมการทำการประเมินในช่วงวันที่ 7-15 พฤษภาคม 2563 และส่งผลการประเมินภายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เพื่อจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับ ตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จัดทำขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่ได้มีการจัดการเรียนการสอน ตามโครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
กล่าวคือ โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย industrial shots. ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ คือ http://www.littlescientistshouse.com/
ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บไซต์เฟสบุ้ค เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.3061111777268497&type=3 ·
ฮิต: 460