กิจกรรมการมีส่วนร่วมของ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1
เมื่อวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 ดร.อำนาจ บุญทรง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 พร้อมด้วยคณะ รอง ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย และเจ้าหน้าที่ ตลอดทั้งคณะครู ที่อยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมกันติดตามรับชม-รับฟังการประชุมทางไกล ผ่านทางรายการ "พุธเช้า ข่าว สพฐ." ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการเผยแพร่องค์ความรู้และการรณรงค์เกี่ยวกับ โควิด-19 เพื่่อเป็นการสร้างการรับรู้ การสนับสนุน การเผยแพร่องค์ความรู้และการรณรงค์เกี่ยวกับโควิด-19 ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ ได้ร่วมกันรับชมในวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 เวลา 08.00 น.ถึง 09.00 น. ณ ห้องประชุมมะขามหวาน สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สามารถติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได้ที่เว็บไซต์ facebook กลุ่มสาธารณะชื่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 - เครือข่ายประชาสัมพันธ์สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 เว็บลิงค์
https://www.facebook.com/groups/www.phetchabun1.go.th/permalink/2915520955160914/
และ ติดตามรับชมย้อนหลัง รายการพุธเช้า ข่าวสพฐ. ครั้งที่ 10/2563 ประจำวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 ได้ที่เว็บลิงค์ https://www.facebook.com/obectvonline/videos/229459421566257/
เมื่อวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 นายวลี มีภู่ ผู้อำนวยการกลุ่ม กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 และคณะ ร่วมกันจัดทำเจลล้างมือป้องกันไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆ แล้วไปมอบให้กลุ่มงานต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ และเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเอง อนึ่ง เจลล้างมือเป็นผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดมือสำหรับใช้ในกรณีไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ซึ่งเป็นวิธีทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อโรคที่มือไปสัมผัสโดนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายและนำไปสู่การเกิดโรคได้ในภายหลัง ปัจจุบันจึงมักพบเห็นเจลล้างมือตามโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานที่มีคนอยู่อย่างหนาแน่น หรือบางคนอาจพกติดตัวไว้ในกระเป๋า อย่างไรก็ตาม หากมือเลอะคราบสกปรก ปนเปื้อนเลือดหรือของเหลวในร่างกายจากคนอื่นอย่างเห็นได้ชัดก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้เจลล้างมือ แต่ควรใช้การล้างมือด้วยน้ำและสบู่แทน
การศึกษาหลายชิ้นระบุว่า เจลล้างมือที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ระหว่าง 60-95% ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคได้มากกว่าสูตรที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าหรือไม่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่เลย ขณะที่เจลล้างมือสูตรไม่มีแอลกอฮอล์ไม่สามารถป้องกันหรือยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด และอาจทำให้เชื้อโรคเหล่านั้นดื้อต่อสารทำความสะอาดในเจลล้างมือมากขึ้น รวมถึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนังมากกว่าสูตรผสมแอลกอฮอล์ เจลล้างมือส่วนใหญ่จึงมักใช้แอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบสำคัญ
ความสะดวกสบายในการใช้งานและคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อโรคของเจลล้างมือที่มักพบเห็นในโฆษณาทำให้คนนิยมใช้อย่างแพร่หลาย บางคนใช้จนกลายเป็นความเคยชินในชีวิตประจำวัน แท้จริงแล้วเจลล้างมือที่ใช้กันอยู่เป็นประจำมีความจำเป็นหรือใช้ทดแทนการล้างมือได้มากน้อยแค่ไหน
การล้างมือ และการใช้เจลล้างมือมีความสำคัญทั้งคู่ โดยการล้างมือจัดเป็นวิธีทำความสะอาดหลักที่ควรใช้เป็นวิธีแรก และการใช้เจลล้างมือเป็นเสมือนวิธีเสริมในบางสถานการณ์ที่ไม่สะดวกจะใช้น้ำและสบู่ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการขจัดเชื้อโรคและความปลอดภัยของส่วนผสมในเจลล้างมือยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในหลายด้าน ซึ่งในทางการแพทย์ยังแนะนำว่า เจลล้างมืออาจเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในกรณีที่ไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ แต่ยังไม่สามารถทดแทนการล้างมือได้
ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได
เมื่อวันที่ 5 และ 6 มีนาคม 2563 นางอรทัย อินการพุม ผู้อำนวยการโรงเรียนน้ำอ้อม
สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 จัดประชุมระบบการตรวจเยี่ยม
เมื่อวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการเ
โดยการรายงานข้อมูลมี 2 ระดับ คือ 1) การตรวจเยี่ยมโรงเรียนระดับ
ติดตามประมวลภาพส่วนหนึ่งได
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 เวลา 15.30 -17.00 น. นางพิมเสน ทองนึก ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครู พร้อมด้วยนักเรียนโรงเรียนบ